top of page
10.png

Address

งานบริการการศึกษา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 99/209 หมู่ 18 ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 12120

Contact

โทรศัพท์ 0-2926-9694-7

โทรสาร 0-2926-9676

  • Facebook

ค่าเทอม

21,100 บาท/เทอม

ทุนการศึกษา

ทุนการศึกษามี 2 ประเภท คือ ทุนภายใน และทุนภายนอก
ทุนภายใน คือ ทุนของคณะแพทยศาสตร์
ทุนภายนอก ที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร

มูลนิธิ ธนาคาร บริษัท สมาคม 
ผู้มีจิตรศรัทธา และจัดสรรเงินรายได้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ส่วนหนึ่ง
โดยจะประกาศรับสมัครทุนการศึกษาทุกปีการศึกษา คือ เทอม 1 ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน
และเทอม 2 ช่วงเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์
ทั้งนี้ จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี เป็นผู้มีประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้สามารถใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย   ได้อย่างมีความสุข และสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

ค่านิยม : MOVE 
M – modern ทันสมัย
O – omniscient รอบรู้
V – virtuous มีคุณธรรม
E – enthusiastic กระตือรือร้น

วิสัยทัศน์
” คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นนำระดับสากล  สร้างผู้นำทางการแพทย์เพื่ออนาคต”

“แพทย์ธรรมศาสตร์ เสรีภาพที่เราเลือกเอง”

จุดเด่นในคณะ

การเรียนรู้แบบ Problem-based learning เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการแสวงหาความรู้ โดยไม่มีการเตรียมตัวล่วงหน้าเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว เน้นให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การทำงานเป็นทีม และทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาที่เรียน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ และสามารถจดจำได้มากกว่าวิธีการเรียนเลคเชอร์ (lecture) โดยการเรียนรู้จะเป็นรูปแบบการอภิปรายกลุ่ม โดยมีอาจารย์ 1 คน ต่อ 1 กลุ่ม ทำหน้าที่เป็นติวเตอร์ (tutor) คอยกระตุ้นให้แลกเปลี่ยนความเห็นในกลุ่ม สมาชิกกลุ่มจะช่วยกันอภิปรายปัญหาและตั้งสมมติฐาน และหาข้อมูลด้วยตนเองในชั่วโมง SDL (Self-directed learning) หลังจากนั้นจึงสรุปเนื้อหากับสถานการณ์ปัญหาที่ได้รับ ตกผลึกเป็นชุดความรู้สำหรับใช้ในอนาคต การเรียนรู้แบบ Self-directed learning คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น เลคเชอร์ ห้องสมุด สื่อออนไลน์

ประวัติสถาบัน

แพทย์ธรรมศาสตร์ แพทย์ของประชาชน หากนึกถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสรีภาพ สิทธิและความเท่าเทียมเป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ทว่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ยังมีคณะสายสุขภาพ ซึ่งผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมมาอย่างยาวนาน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อตั้งมาแล้วกว่า 30 ปี สิ่งที่ทำให้คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แตกต่างจากที่อื่น ๆ คือ การเน้นให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้จากปัญหา หรือการเรียนรู้แบบ Problem-based learning รวมไปถึงการเรียนรู้ภาคสนาม มีการเข้าไปเรียนรู้ในชุมชน ทำให้เกิดการมองปัญหาแบบภาพรวม (Holistic view) เน้นการดูแลโดยให้ผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน ทางคณะจัดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ 80% Problem-based learning และ 20% Lectures โดยมีช่วงเวลาที่ให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้โดยตนเองเป็นผู้กำกับ (Self-directed learning) หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับชั้นพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2-3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) มีการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการปฏิบัติการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ข้อมูลการสอบเข้า

1.รอบแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) รับจำนวน 10 คน

2.รอบโควตา (Quota)  
-โครงการรับนักเรียนจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับจำนวน 4 คน
-โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท 
                          -โรงพยาบาลสระบุรี รับจำนวน 30 คน
                          -โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี รับจำนวน 30 คน
                          -โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ รับจำนวน 15 คน
                          -โรงพยาบาลพุทธโสธร รับจำนวน 30 คน

 3.รอบ Admission ผ่านระบบรับตรงของ กสพท รับจำนวน 70 คน  
                     
เพิ่มเติม  1. ตรวจร่างกายและสุขภาพ
           2. สอบสัมภาษณ์    

 

สรุปชีวิตการเรียน

Pre-clinic (ปี 1-3)

ปี 1 เป็นช่วงการปรับตัวในการเป็นนักศึกษา เรียนวิชาพื้นฐานของมหาวิทยาลัยร่วมกับคณะอื่น ๆ กิจกรรมที่สำคัญ คือ ค่ายหมอโดมอาสาที่จะได้เข้าไปช่วยเหลือพัฒนาโรงเรียน

ปี 2 เริ่มเข้าเรียนวิชาการแพทย์และทำกิจกรรมในคณะ ศึกษาอาจารย์ใหญ่ เริ่มเรียนด้วย Problem-based learning และมีการลงพื้นที่ชุมชน

ปี 3 ปีที่มีการสอบ National license ครั้งที่ 1 เป็นปีที่รับผิดชอบการดำเนินงานหลักในคณะ เรียนรู้เกี่ยวกับภาวะปกติของร่างกาย มีการลงพื้นที่ชุมชนเพื่อทำโครงการแก้ไขปัญหา

 

Clinic (ปี 4-6)

​ปี 4 หากเป็นโครงการแพทย์ชนบทจะแยกไปเรียนที่ศูนย์แพทย์ประจำจังหวัด เริ่มเรียนในคลินิก วนวอร์ด Majorและฝึกตรวจร่างกาย มีการเลือก elective หรือวิชาเลือกในช่วงปิดเทอม

ปี 5 มีการสอบ National license ครั้งที่ 2 วนวอร์ด Major และ Minor มี elective ภาคบังคับ

ปี 6 เริ่มหาประสบการณ์และใช้ทุน มีการสอบ National license ครั้งที่ 3 มี elective ภาคบังคับ

  • RSS
  • Facebook
  • Instagram
  • Youtube
bottom of page